สู่ความยั่งยืนทางการเงินด้วยวิธีบูรณาการและการปรับเข้ามาตรฐานหนึ่งเดียว

BulletArticle
แชร์สิ่งนี้:

ห้องปฏิบัติการทั่วโลกต่างต้องรับแรงกดดันเพื่อส่งมอบบริการที่คุ้มค่ามากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ยังต้องรักษาความยั่งยืนทางการเงินไว้ให้ได้ตามเป้าหมายบนพื้นฐานของบริการสาธารณสุขที่มีงบค่อนข้างจำกัด ความท้าทายนี้จะเห็นได้ชัดในส่วนของบริการภาครัฐที่ต้องรักษาระดับราคาและคุณภาพให้เป็นหนึ่งเดียวทั่วประเทศ อย่างไรก็ดี หน่วยงานต่างๆ มักไม่มีการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน โรงพยาบาลและห้องปฏิบัติการแต่ละแห่งจะมีระบบจัดซื้อของตนเอง การแบ่งสรรงบประมาณจะเป็นไปตามอัตราส่วนของปริมาณงานที่รับได้และจำนวนคนไข้ ห้องปฏิบัติการที่ต้องรับภาระต้นทุนที่สูงโดยไม่จำเป็นเพื่อทำ rare test เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว บริการพยาธิวิทยาของภาครัฐจะทำอย่างไรเพื่อให้มั่นใจได้ว่าห้องปฏิบัติการจะสามารถสร้างความยั่งยืนทางการเงินได้ในขณะที่ต้องส่งมอบบริการคุณภาพสูงบนมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ  

นั่นเป็นความท้าทายที่เราต้องเผชิญที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย ในปี พศ. 2556 ห้องปฏิบัติการของรัฐกระจายอยู่ในโรงพยาบาลหกแห่งทั่วประเทศ ซึ่งต่างก็ปฏิบัติงานบนแพลตฟอร์มที่แตกต่างกันทั้งหกแห่ง หลักการของเทสต์ที่แตกต่างกัน มีต้นทุนต่อเทสต์แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับปริมาณการส่งตรวจ ความผันแปรในเรื่องปริมาณงานและต้นทุนนี้ทำให้ประสิทธิภาพและความเสมอภาคด้านการแบ่งสรรงบประมาณของรัฐกลายเป็นเรื่องท้าทาย จนบางครั้ง นำไปสู่การสั่งระงับการทำเทสต์ที่ไม่เร่งด่วน ดังนั้น เพื่อรับมือกับความท้าทายนี้ เราได้กำหนดแผนการสองช่วง ได้แก่ แผนการปรับมาตรฐาน และแผนการบูรณาการ

ช่วงที่ 1: แผนการปรับมาตรฐาน

เพื่อขจัดความท้าทายที่เราต้องเผชิญและสรรสร้างบริการที่มีความยั่งยืนทางการเงิน เราจำเป็นต้องปรับมาตรฐานการบริการของเราให้เป็นหนึ่งเดียวทั่วประเทศ กล่าวคือ เราต้องประมูลรวม ทั้งอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ สำหรับการทำเทสต์เพื่อห้องปฏิบัติการทุกแห่งของเรา ด้วยการรวบรวมความต้องการของเราทั้งหมดมาไว้กับสัญญาการประมูลระยะเวลาสี่ปี ทำให้เราสามารถประหยัดต้นทุนลงได้มากโข โดยอาศัยปริมาณของการสั่งซื้อ และในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างความมั่นใจว่าบริการเทสต์ทุกแห่งของเราจะอยู่บนมาตรฐานเดียวกัน การมีทีมจัดซื้อส่วนกลางช่วยให้เราลดเนื้องานการจัดซื้อของบุคลากรในห้องปฏิบัติการอื่นๆ ให้พวกเขาสามารถหันไปเน้นงานด้านอื่นได้ตามเหมาะสม

การปรับอำนาจซื้อเข้าสู่ศูนย์กลางทำให้เราสามารถรับประกันได้ว่าต้นทุนต่อเทสต์จะเท่ากันทั่วประเทศ ผู้ป่วยจึงสามารถวางใจได้ในเรื่องค่าใช้จ่าย ในขณะเดียวกัน เราก็มั่นใจได้ว่าการแบ่งสรรงบประมาณของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะอิงจากปริมาณงานได้โดยตรง จึงทำให้สามารถกระจายงบได้อย่างรัดกุมและมีความยุติธรรม

เมื่อเครื่องมือต่างๆ มีมาตรฐานเดียวกันแล้ว เราก็สามารถมุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาคุณภาพของห้องปฏิบัติการต่อไปได้ทันทีตราบใดที่ยังอยู่ในสัญญาการประมูลเดิม ห้องปฏิบัติการอ้างอิงกลางของเราสามารถจับตาดูประสิทธิภาพการทำงานของห้องปฏิบัติการแต่ละแห่ง และประเมินคุณภาพของอุปกรณ์เครื่องมือที่มีได้  

ในภาพรวมนั้น เราสามารถแสดงให้เห็นได้แล้วว่าผลตรวจจากห้องปฏิบัติการทั้งหกแห่งของเรามีมาตรฐานเดียวกัน และแม้ว่างบที่เราได้รับจะคงที่อยู่ที่ราว 13 ล้านริงกิต (ประมาณ 101 ล้านบาท) แต่เราสามารถรักษามาตรฐานการบริการของเรา โดยไม่ต้องใช้จ่ายสูงเกินความจำเป็น อีกทั้งยังสามารถเปิดให้บริการเทสต์ใหม่ๆ ได้อีกด้วย  

ช่วงที่ 2: แผนการบูรณาการ

ใน พ.ศ. 2560 เราได้เริ่มเข้าสู่ช่วงที่สองของโครงการนี้ ซึ่งปัจจุบันเราก็ยังคงดำเนินการอยู่ เป็นช่วงที่เรามีเป้าหมายเพื่อเพิ่มมูลค่าและลดต้นทุน เรามองเห็นวิธีที่อาจทำได้สองทาง ทางแรกคือการปรับห้องปฏิบัติการหลักของเราให้เป็นระบบอัตโนมัติ อีกทางคือพัฒนา laboratory information system (LIS) ที่มีประสิทธิภาพขึ้นมาเพื่อให้การสนับสนุนบริการของเราทั่วประเทศ

เนื่องจากเรามีทรัพยากรจำกัด เราจึงจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญ และเนื่องจากห้องปฏิบัติการหลักของเราปฏิบัติงานอยู่บนมาตรฐานสูงอยู่แล้วโดยไม่จำเป็นต้องใช้ระบบ total automation เราจึงเลือกแนวทางที่สอง ลงทุนในเรื่อง LIS ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถลดจำนวนอุปกรณ์เครื่องมือที่ต้องใช้ลงได้ สามารถใช้ระบบ autovalidation ได้ทั่วประเทศ และสามารถส่งผลตรวจทางอิเล็กทรอนิกส์จากห้องปฏิบัติการหลักไปยังแพทย์และพยาธิแพทย์ที่ห้องปฏิบัติการอีกห้าแห่งได้ทันที

เราได้ร่วมมือกับบริษัทพัฒนาระบบ LIS ในประเทศเพื่อสร้างระบบที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของเราได้อย่างตรงจุด การนำแนวคิดนี้มาใช้ทำให้เราสามารถลดการเดินทางจาก 112 กม. เหลือ 0 กม. การพัฒนาระบบที่สร้างขึ้นจากความต้องการของเราเองทำให้ตอนนี้เราสามารถทำการ autovalidate ผลตรวจได้กว่า 90% พนักงานต่างให้การตอบรับที่ดีกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ โดยกว่า 91% ระบุว่ามีความพึงใจกับระบบนี้  

ระบบนี้ยังช่วยพัฒนา turnaround time ของห้องปฏิบัติการเราให้ดียิ่งขึ้น โดยกว่า 98% ของผลตรวจชีวเคมีสามารถรายงานได้ภายในสามชั่วโมง และสามารถรายงานผลการตรวจภูมิคุ้มกันวิทยาที่แปลผลแล้ว พร้อมคำอธิบายได้ ภายในเวลาสามชั่วโมงถึง 94.9%  

นอกจากนี้ เรายังสามารถลดจำนวนเครื่องมือจาก 19 ชิ้นเหลือเพียง 10 ชิ้น เป็นการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การผสานรวมแพลตฟอร์มทำให้สามารถทำเทสต์ที่หลากหลาย และสามารถสร้างมาตรฐานกลางให้กับบางเทสต์ได้ด้วยการส่งมาทำที่ห้องปฏิบัติการหลักของเรา  

ด้วยการปรับมาตรฐานให้เป็นหนึ่งเดียวทั่วประเทศ การบูรณาการและผสานรวมแพลตฟอร์ม ช่วยให้เราส่งมอบบริการห้องปฏิบัติการที่มีความมั่นคงทางการเงินแก่ประชากรของเราได้ และที่สำคัญที่สุด คือเราสามารถมอบคุณค่าและการดูแลที่ดีกว่าให้กับคนไข้ของเรา


บทความนี้อ้างอิงจากการนำเสนอเรื่อง Embrace lab standardisation and integration to the next level ในงาน Roche Efficiency Days (RED) 2018 REDefining perspective ในกวางเจา ประเทศจีน

แชร์สิ่งนี้:

เพิ่มเติมในหัวข้อเดียวกัน

หัวข้อแนะนำ

SequencingRED 2020Rare Diseases
สิ่งที่ต้องอ่านถัดไป
Scroll to Top